ศัลยกรรมกรามเบี้ยว เพื่อรักษาหน้าเบี้ยว โดยการศัลยกรรมผ่าขากรรไกร
กรามเบี้ยว หรือหน้าเบี้ยว เกิดจากความผิดปกติของขากรรไกรล่าง ไม่ว่าจะเป็นขากรรไกรล่างยื่น หรือมีรูปที่ผิดปกติ และอาจรวมไปถึงขากรรไกรบนร่วมด้วยในบางเคส ผู้ป่วยมักจะมีฟันไม่สบกัน บางรายอาจมีอาการปวดหูขณะอ้าปาก อาจรุนแรงไปถึงการหายใจ เคี้ยว หรือกลืนอาหารลำบาก หรือแม้แต่มีอาการผิดปกติลามไปถึงข้อต่อขากรรไกร เช่น มีเสียงคลิกเวลาขยับ เราจึงเห็นได้ว่าปัญหาขากรรไกรเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยงามของใบหน้าอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องใหญ่ในการใช้ชีวิตเรื่องหนึ่งเลยก็ว่าได้ หลายๆคนที่ประสบปัญหาจึงให้ความสนใจเรื่องศัลยกรรมกรามเบี้ยว หรือการผ่าขากรรไกร
หน้าเบี้ยว เกิดจากอะไรได้บ้าง
- พันธุกรรม บางคนที่ฟันสบกัน หรือใบหน้าสมส่วนตั้งแต่เกิด เรามักจะสังเกตเห็นว่าพ่อแม่หรือปู่ย่าของคนนั้น มักจะมีลักษณะเดียวกันด้วย แต่หากพ่อแม่หรือบรรพบุรุษของคุณมีโครงหน้าหรือกระดูกที่ผิดปกติเป็นยีนส์เด่น โอกาสที่คุณจะได้ได้รับลักษณะนั้นๆ มาจึงสูงตามไปด้วยเช่นเดียวกับผู้มีเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่
- งานทันตกรรม การใส่ฟันปลอม เคลือบฟัน หรือการถอดฟันก็เป็นปัจจัยที่ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าของคุณเปลี่ยนไปได้ จากงานวิจัยในปี 2014 ระบุว่าการถอนฟันเป็นปัจจัยที่สามารถทำให้ใบหน้าไม่สมส่วนได้โดยตรง
- อายุที่เพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตของกระดูกที่หยุดไปเมื่ออายุเพิ่ม แต่กระดูกอ่อนบริเวณจมูกและใบหูยังคงดำเนินต่อไป ในระยะนี้อาจเกิดการเจริญเติบโตที่ไม่สมดุลขึ้นได้
- ไลฟ์สไตล์ เช่น การเคี้ยวอาหารข้างเดียว นอนคว่ำ หรือนอนตะแคงด้านเดียวเป็นเวลานาน
- อุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บซึ่งมีผลกระทบอย่างร้ายแรงกับใบหน้า ทำให้ผู้คนต้องเข้ารับการ ผ่าขากรรไกร ร่วมจัดฟันอยู่ไม่น้อย
- Bell’s Palsy หรือ โรคปากเบี้ยว คืออาการที่ใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างฉับพลัน มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ชาตามแขนขา อ่อนเพลีย
- โรคคอเอียง (Torticollis) เกิดจากกล้ามเนื้อด้านหนึ่งบวม ส่งผลให้คออีกข้างเอียงลง มักพบในเด็กทารก
ใครสามารถผ่าตัดขากรรไกรได้บ้าง
- หน้าเบี้ยวเห็นได้ชัด ฟันไม่สบกันอย่างรุนแรง คางหดหรือถอยมาก
- ได้รับการวิเคราะห์จากทางแพทย์ว่ามีขากรรไกรผิดปกติ และต้องเข้ารับการผ่าขากรรไกร
- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
- อายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป
ผ่าตัดขากรรไกร หรือ ศัลยกรรมกรามเบี้ยว น่ากลัวไหม?
ปัจจุบันการผ่าตัดขากรรไกรเป็นเรื่องง่าย และไม่น่ากลัวอย่างที่หลายคนคิดแล้ว เพราะมีเทคโนโลยีหลายอย่างที่เอื้ออำนวยต่อการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 3 มิตินำร่อง ทำให้ลดความเสี่ยงโดนอวัยวะสำคัญ เสียเลือดน้อย การผ่าตัดเป็นไปอย่างรวดเร็ว พักฟื้นไม่นาน หรือจะเป็นการผ่าตัดรูปแบบ Surgery-First หรือการผ่าขากรรไกรก่อนการจัดฟัน ที่ทำให้หน้าเข้ารูปเร็ว ย่นเวลาการผ่าตัดจากรูปแบบการผ่าตัดแบบดั้งเดิมได้มากถึง 1-2 ปี หรือจะเป็นการผ่าตัดขากรรไกรร่วมจัดฟันแบบไม่มัดฟัน ที่คนไข้ไม่ต้องแอดมิท สามารถกลับบ้าน ทานอาหารอ่อนๆ และสนทนากับผู้อื่นได้เลย เห็นได้ว่า การผ่าขากรรไกรเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมากๆ
อ่านบทความเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ในการผ่าตัดขากรรไกรได้ที่นี่
ผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟันคืออะไร?
การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (Orthognathic Surgery) คือการผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหา ใบหน้าผิดรูป ฟันไม่สบกัน คางยื่นหรือคางหลุบมากกว่าปกติและทำให้ใบหน้ามีสัดส่วนที่ปกติมากขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และใช้ชีวิตได้สะดวกมากกว่าเดิม ทั้งนี้ ความเสี่ยง…
ผ่าตัดขากรรไกรแบบไม่มัดฟันคืออะไร
คือ เทคนิคการผ่าตัดสำหรับผู้ปัญหา ฟันไม่สบกัน ขากรรไกรเบี้ยว หรือหน้าไม่ได้รูป ซึ่งเอื้อต่อความสะดวก ในการใช้ชีวิตของคนไข้หลังทำได้อย่างมาก เนื่องจากลดความเสี่ยง และอาการเจ็บปวด ได้ดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
NEMOTEC V คืออะไร
การวางแผนผ่าตัดด้วยเทคนิค Nemotec V (คอมพิวเตอร์ 3 มิติ) เป็นการวางแผนการผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำร่อง 3 มิติ เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมกับคนไข้ในการผ่าตัด ลดโอกาสกระทบกับอวัยวะ สำคัญภายในช่องปาก ที่อาจทำให้เกิดอันตราย
ผ่าขากรรไกร ทางเลือกที่ใช่ที่สุดในการรักษาหน้าเบี้ยว ฟันไม่สบกัน?
“จัดฟันแล้วคางเบี้ยวค่ะ แก้ยังไงดีคะ?”
“ช่วยด้วย กรามเบี้ยว มีวิธี รักษาหน้าเบี้ยว ไหม??”
“เพิ่งสังเกตว่ากรามเราเบี้ยว หมอบอกต้องผ่าขากรรไกร แค่จัดฟันไม่ได้จริงๆหรอ”
“คางยื่นเกี่ยวกับฟันไหม หรือเป็นเพราะ ขากรรไกรล่างยื่น ต้องผ่าตัดเลยใช่ไหม?”
นี่เป็นข้อสงสัยยอดฮิตในโซเชียลมีเดีย หลายคนอาจคิดว่าแค่จัดฟันอาจช่วยได้ เพราะหมอก็แค่ดึงฟันที่เบี้ยว หุบ หรือยื่นมาจัดให้ ฟันสบกัน จริงอยู่ที่ปัญหานี้ในสำหรับบางคนอาจจะเกิดจากฟันที่บิดเพียงเล็กน้อย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับลักษณะโครงสร้างของรูปขากรรไกรแต่อย่างใด แต่แน่นอนว่าวิธีนี้ใช้ไม่ได้กับทุกคน เช่น เมื่อส่องกระจกแล้วพบว่าหน้าบิดเบี้ยวมากจากขากรรไกร คางยื่นหรือถอยจนฟันไม่สบกัน อย่างรุนแรง หุบยิ้มไม่ได้ หรือมีลักษณะนอนกรนร่วมด้วย ดังนั้น หากรู้ตัวว่ามีความผิดปกติทางขากรรไกรหรือยังไม่มั่นใจ จึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา หาวิธีแก้ไขอย่างถูกต้อง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมก่อนและหลังผ่าขากรรไกร