ถอนฟัน (Pull a tooth)

การถอนฟันเป็นหนึ่งในวิธีรักษาสุขภาพช่องปาก และเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุด หากตัดสินใจจะถอนฟันต้องยอมรับการสูญเสียฟันด้วย การถอนฟันมีความยากง่ายแตกต่างกันไปตามแต่ปัญหาของฟันแต่ละซี่

การถอนฟันเป็นหนึ่งในวิธีรักษาสุขภาพช่องปาก และเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุด หากตัดสินใจจะถอนฟันต้องยอมรับการสูญเสียฟันด้วย การถอนฟันมีความยากง่ายแตกต่างกันไปตามแต่ปัญหาของฟันแต่ละซี่ 

สาเหตุที่ต้องถอนฟัน

  • มีการติดเชื้อหรืออักเสบของฟัน
  • มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ฟันผุลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
  • เป็นโรคเหงือกขั้นรุนแรง
  • ฟันบิ่นหรือแตก แบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
  • ฟันที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ฟันคุด
  • ฟันที่เป็นอุปสรรคในการจัดฟัน

เทคนิคในการถอนฟัน

  1. การถอนฟันโดยใช้คีมถอนฟัน (Forceps Technique)

วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะทำให้เกิดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อน้อยกว่าวิธีอื่น ๆ เหมาะสำหรับกรณีที่มีเนื้อฟันเหลืออยู่ค่อนข้างมาก

  1. การถอนฟันโดยใช้ Elevator

จะใช้ในการถอนฟันกรามซี่ที่ 3 ทั้งบนและล่าง วิธีนี้สามารถนำรากที่หักออกมาได้

  1. การถอนฟันโดยการแบ่งฟัน (Tooth Division Technique)

เป็นวิธีการถอนฟันเพื่อให้สะดวกในการนำรากฟันออกทีละส่วน จะใช้ในกรณีที่ฟันมีการผุมาก มีเนื้อฟันเหลือน้อย ถอนโดยใช้คีมไม่ได้

การเตรียมตัวก่อนการถอนฟัน

  1. เตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม พักผ่อนให้เต็มที่
  2. หากมีโรคประจำตัวให้แจ้งทันตแพทย์
  3. รับประทานอาหารพอประมาณ ให้อยู่ท้อง
  4. ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาภายหลังการถอนฟันได้ เช่น ทางเดินหายใจอุดตัน หรือสำลักอาหาร

ขั้นตอนในการถอนฟัน

  1. ก่อนถอนฟันทันตแพทย์จะฉีดยาชารอบ ๆ บริเวณฟันที่จะถอน
  2. ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือแซะฟัน ให้ฟันหลวมออกจากเหงือก
  3. ใช้คีมหนีบ และดึงฟันออกมา

ข้อปฏิบัติหลังถอนฟัน

  • กัดผ้าก็อซแน่น ๆ ไว้ประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง หากมีเลือดหรือน้ำลายให้กลืน ห้ามดูดแผลหรือเลือด รวมทั้งห้ามบ้วนปากหรือน้ำลาย
  • หลังครบ 1 ชั่วโมง คายผ้าก็อซออก หากยังมีเลือดไหลให้เปลี่ยนผ้าก็อซอันใหม่
  • ยาชาจะมีฤทธิ์ 1 – 2 ชั่วโมง หากมีอาการเจ็บปวดให้ทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
  • ประคบอุ่น เพื่อป้องกันอาการบวมหลังถอนฟัน
  • หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณแผล 1 – 2 วัน

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการถอนฟัน

  • เลือดออกหรือไหลไม่หยุด คนไข้ควรกัดผ้าก็อซไว้ให้แน่น อย่างน้อย 30 นาที งดสูบบุหรี่ งดบ้วนปาก เพราะทำให้มีเลือดออกจากแผลถอนฟันได้
  • การฟกช้ำ จะเกิดขึ้นได้ง่ายในคนไข้สูงอายุ
  • การบวม กรณีที่ถอนฟันโดยการผ่าตัด อาการบวมจะมากที่สุดในเวลา 48 – 72 หลังผ่าตัด ควรใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบข้างแก้มบริเวณที่ผ่าตัดทันทีตั้งแต่วันแรก จะช่วยให้บวมน้อยลง
  • การติดเชื้อ มักเกิดในคนไข้ที่มีความต้านทานน้อย
  • การอ้าปากได้อย่างจำกัด เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว ให้ใช้นิ้วมือหรือไม้กดลิ้นง้างปากบ่อย ๆ ร่วมกับการใช้น้ำอุ่นประคบ และอมน้ำเกลืออุ่นบ่อย ๆ
  • อาการเจ็บปวดหลังผ่าตัด อาการเจ็บปวดจะอยู่ประมาณ 12 ชั่วโมงหลังถอนฟัน และค่อย ๆ ลดระดับลงเรื่อย ๆ ไม่ควรปวดเกิน 2 วัน สามารถใช้ยาพาราเซตามอลระงับอาการปวดได้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียฟัน

เมื่อสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่ง ฟันซี่ข้าง ๆ จะค่อย ๆ ล้ม หรือเคลื่อนไปยังช่องว่าง ซึ่งทำให้อาจเกิดผลกระทบต่อการบดเคี้ยวอาหาร การเรียงตัวของฟัน และการสบฟัน เป็นต้น ผลกระทบดังกล่าวสามารถหลีกเลี่ยงโดยการทำทันตกรรมที่เหมาะสมดังนี้

  1. สะพานฟัน
  2. รากฟันเทียม
  3. แผงฟันปลอม

เมื่อสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่งไป ฟันซี่ข้างเคียงอาจจะค่อยๆล้มหรือเคลื่อนไปยังช่องว่าง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพปากและฟัน การสูญเสียฟันหนึ่งซี่อาจส่งผลกระทบต่อการบดเคี้ยว การเรียงตัวของฟัน และการสบฟัน เป็นต้น การหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการแทนที่ฟันซี่นั้นด้วยฟันปลอมซึ่งมีทั้งชนิดถอดได้ และชนิดติดแน่น

Scroll to Top