การบูรณะฟันแบบอินเลย์และออนเลย์ (Inlays and Onlays)
อินเลย์ และ ออนเลย์ (Inlays-Onlays) เป็นการบูรณะฟันหรืออุดฟัน โดยการสร้างวัสดุบูรณะให้เสร็จเรียบร้อยขึ้นเป็นชิ้นงานภายนอกช่องปาก โดยทำให้มีขนาดพอดีกับโพรงฟันที่เตรียมไว้ ทำให้สามารถถอด – ใส่ และลองวัสดุบูรณะได้ ทำให้สามารถทดสอบความแนบสนิทของวัสดุบูรณะกับผนัง และขอบของโพรงฟันที่กรอเตรียมไว้ก่อนที่จะทำการติดด้วยซีเมนต์ยึดต่อไปเพื่อความสวยงามจึงเป็นศาสตร์และศิลป์ขั้นสูงของงานทันตกรรม โดยวัสดุที่นำมาใช่ทำ Inlay และ Onlay นั้น มีทั้งโลหะพอร์ซเลน และ เรซิน คอมโพสิต
ข้อดีของการบูรณะฟันแบบ INLAY และ ONLAY
- ให้ความสวยงาม มีสีใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
- มีความแข็งแรงกว่าการบูรณะโดยตรง
- ลดอัตราการเกิดการหดตัวของวัสดุอุดหลังการฉายแสง ลดอาการเสียวฟัน ภายหลังการบูรณะฟันลงหรืออาจไม่เกิดเลย
- มีอายุการใช้งานนาน
- กรณีที่ต้องมีจำนวนซี่ที่ต้องการบูรณะหลายซี่หรือมีขนาดใหญ่ สามารถเตรียมวัสดุบูรณะพร้อมกันภายนอกช่องปาก จึงลดเวลาในการรักษาลง
- สามารถขัดแต่งวัสดุได้ภายนอกช่องปาก จึงสามารถป้องกันความร้อนหรืออันตรายจากการกรอแต่งวัสดุในช่องปากได้
ขั้นตอนการรักษา
ตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
- ฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะรักษา
- กรอฟันให้มีรูปร่างที่เหมาะสม
- จดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการ
- พิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
- ส่งแบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดไปยังห้องแล็บเพื่อทำ Inlays หรือ Onlays
- ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งาน
ขั้นตอนการติด Inlays หรือ Onlays
- การรื้อวัสดุอุดแบบชั่วคราวออกการติดยึด Inlays หรือ Onlays บนฟัน
- การตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมที่สุด
ขั้นตอนการดูแลรักษา
การทำ Inlays หรือ Onlays นั้นมีความคล้ายคลึงกับการอุดฟันโดยทั่วไป เพียงแต่วัสดุที่ใช้ในการทำ Inlays และ Onlays นั้นจะมีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันและการรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสจะก่อให้เกิดอาการเสียวฟันได้น้อยมาก การดูแลรักษาหลังการทำ Inlays และ Onlays
- ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลัง รับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
- ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
- ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน
( หมายเหตุ : “ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล” )