อุดฟันชั่วคราว

อุดฟัน (Dental Filling)

การอุดฟันคือวิธีการรักษาฟันที่ถูกทำลายจากการผุให้สามารถใช้งานได้และกลับมามีรูปทรงดังเดิม เวลาทำการอุดฟันทันตแพทย์จะเอาเนื้อฟันที่ผุออกและทำความสะอาด จากนั้นจึงเติมวัสดุอุดฟันลงไปเพื่อช่วยป้องกันการผุเพิ่มขึ้นด้วยการปิดช่องทางที่แบคทีเรียสามารถเข้าไปได้

เป็นการใส่วัสดุอุดฟันเข้าไปทดแทนที่เพื่อให้ฟันซี่นั้นสามารถใช้งานในช่องปากได้เหมือนเดิมหรือกลับมีรูปร่าง และใช้งานได้เหมือนเดิม ทำให้โครงสร้างทั้งหมดของฟันอยู่ในสภาพที่ดี การอุดฟันจะทำก็ต่อเมื่อมีอาการฟันผุจนเป็นรู คอฟันสึกจากการแปรงฟันไม่ถูกวิธี มีการแตกหัก บิ่น หรือจากอุบัติเหตุ การอุดฟันจึงเป็นการช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียเนื้อฟันจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น

อาการแบบไหนต้องอุดฟัน

อุดฟันชั่วคราว

อุดฟันมีกี่แบบ

วัสดุอุดฟันชั่วคราว

โดยจะแบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน ซึ่งทั่วไปจะแบ่งได้  3 แบบ

  • อุดฟันด้วยทอง (Gold)

วัสดุชนิดนี้มีราคาที่สูงที่สุด เนื่องจากทำขึ้นมาเฉพาะบุคคล ไม่ทำให้ระคายเคืองช่องปาก มีความทนสูง และมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 20 ปี (แล้วแต่บุคคล) มีข้อเสียคือ มีสีทองทำให้มองเห็นได้ชัด

  • อุดฟันด้วยอมัลกัม (Amalgam)

เป็นวัสดุอุดฟันโลหะผสมมีสีเทาแบบโลหะ ราคาไม่แพง มีข้อดีคือแข็งแรงทนทานเหมาะกับการอุดในบริเวณที่ต้องรับแรงบดเคี้ยว ข้อเสียคือสีไม่เหมือนฟันธรรมชาติ และจะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ

  • อุดฟันด้วยวัสดุคอมโพสิต (Composite)

เป็นวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติ ซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัสดุอุดฟันแบบฉายแสง เป็นวัสดุจำพวกพลาสติก ใช้ในตำแหน่งที่ต้องการความสวยงามเหมือนธรรมชาติ สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลังและยังคงทนได้นานกว่ากลาสไอโอโนเมอร์ แต่วัสดุชนิดนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ขั้นตอนในการอุดฟัน

ขั้นตอนในการอุดฟันของทันตแพทย์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ

1. การกรอฟันหรือการเตรียมฟันให้พร้อมสำหรับการอุด เช่นถ้ามีฟันผุดำ ๆ หรือผุเป็นช่องโบ๋ มีเศษอาหารติด หมอฟันก็จะกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปก่อน โดยมากก็จะใช้หัวกรอ กรอเนื้อฟันที่ผุออกไปให้เหลือแต่เนื้อฟันที่แข็งแรงเท่านั้น ในการกรอฟันทันตแพทย์จะเลือกตัดเนื้อฟันให้น้อยที่สุด

2. การอุดฟันคือการเติมช่องว่างหรือส่วนที่ขาดหายให้เต็ม 3. ขัดเงาหรือขัดเอาวัสดุอุดส่วนเกินออกไป

หลังอุดฟันทันทีไม่ควรทำอะไร

รักษารากฟัน

คำแนะนำดูแลตัวเองสำหรับการอุดฟันแต่ละแบบ

สำหรับผู้ที่อุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม

– ไม่ควรใช้ฟันที่เพิ่งอุดใหม่ ๆ เคี้ยวอาหารควรทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชม. เพื่อให้วัสดุแข็งตัวเต็มที่ ให้เคี้ยวอาหารเฉพาะด้านที่ไม่ได้รับการอุดฟันเพียงข้างเดียวไปก่อน

– ควรกลับมาขัดวัสดุให้เรียบและขึ้นเงาตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย การขัดเรียบจะช่วยให้แผ่นคราบแบคทีเรียเกาะติดได้ยากขึ้น ลดการเกิดการผุใหม่ตามขอบวัสดุและยืดอายุการใช้งานของฟันซี่นั้นด้วย

– การที่อุดฟันด้วยอมัลกัมตั้งแต่ 3 ด้านขึ้นไป ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็ง ๆ และใช้ฟันซี่นั้นอย่างระมัดระวัง

สำหรับผู้ที่อุดฟันด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน

– สามารถใช้ฟันซี่นั้นเคี้ยวอาหารได้ตามปกติทันทีหลังการอุดฟัน – กรณีที่วัสดุมีการเปลี่ยนสีมีการแกะติดของสีจากคราบอาหารตามขอบวัสดุ หรือขอบวัสดุอุดฟันมีรอยรั่วแตกหัก ควรพบทันตแพทย์เพื่ออุดฟันแก้ไขใหม่

สำหรับผู้ที่อุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว

– ไม่ควรใช้ฟันที่วัสดุอุดชั่วคราว (สีขาว) ใน 24 ชั่วโมงแรก เนื่องจากวัสดุอุดชั่วคราวจะนิ่มมาก และหลุดง่าย เมื่อวัสดุอุดชั่วคราวสัมผัสกับน้ำลายในช่องปากจะค่อย ๆ แข็งตัวขึ้น

– วัสดุชั่วคราวมีอายุการใช้งานที่จำกัด จะค่อย ๆ กร่อนไปภายใน 2 – 4 สัปดาห์ จึงควรกลับมาพบทันตแพทย์ เพื่อทำการรักษาฟันซี่นั้นให้ถาวรและสามารถใช้งานได้ตามปกติ

อุดฟันชั่วคราวคืออะไร

อุดฟันชั่วคราวทำกรณีที่ทันตแพทย์วินิจฉัยว่า ฟันซี่นั้นที่ต้องการอุดฟัน มีการผุ หรือ แตกไม่จนถึงประสาทฟัน เลยจำเป็นต้องรักษารากฟันก่อน ซึ่งในระหว่างการรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันชั่วคราวก่อน เมื่อรักษารากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาต่อไป

ข้อดีของการอุดฟันชั่วคราว คือ เป็นให้คนไข้ไม่รำคาญรอยผุ หรือ รอยแตกที่อยู่ในระหว่างรักษารากฟัน มีสารช่วยในการลดการอักเสบ หรือ ปวดได้ ยึดติดกับเนื้อฟันได้ดี แต่วัสดุอุดฟันชั่วคราว สามารถรื้อออกได้ง่าย

อุดฟันแบบใส่แผ่นยางกันน้ำลายคืออะไร มีข้อดีอย่างไร

หมอน้ำ ทันตแพทย์ทั่วไป ตอบคำถาม “ อุดฟันแบบใส่แผ่นกันน้ำลายคืออะไร”

การใส่แผ่นยางกันยางกันน้ำช่วยในการลดการปนเปื้อน ป้องกันเชื้อโรคจากน้ำลาย หรือ จากช่องปาก ที่อาจเข้าไปสู่โพรงประสาทฟัน

ข้อดี คือ ทำให้การอุดฟันมีผลสำเร็จดี ประสิทธิภาพวัสดุอุดฟันคงสภาพได้ดี วัสดุอุดฟันยึดติดกับเนื้อฟันได้ดี และยังช่วยให้ลดปริมาณของน้ำที่เกิดจากการกรอฟันไม่ให้ไหลลงคอ ลดความเสี่ยงในการสำลักน้ำลาย ทั้งนี้ การใช้แผ่นยางกันน้ำในการอุดฟัน ขึ้นอยู่กับทันตแพทย์พิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้

ถ้าไม่อุดฟันจะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อฟันผุแล้วไม่รักษา จะผุลึกไปเรื่อยๆ ลุกลาม อาจทำให้มีอาการเสียวฟัน ปวดฟัน ฟันโยก เคี้ยวไม่ได้ เกิดฝี หรือหนองตามมาได้  มีกลิ่นปาก ถ้าไม่รีบรักษา มีการลุมลามมาก ยิ่งกว่านั้นคือไม่สามารถรักษาฟันไว้ได้ อาจจะต้องทำการถอนฟันทิ้งไปเลย และทดแทนด้วยฟันปลอม หรือ การทำรากฟันเทียมนั้นเอง

หลังอุดฟันไปแล้ว ทำอย่างไรไม่ให้ฟันผุซ้ำเดิม

  • เช็ครอยแตกบิ่นของฟันอยู่เสมอ ว่ายังอยู่สภาพที่ดี หากมีรอยแตก ควรไปพบทันตแพทย์
  • แปรงฟันอย่างถูกวิธี
  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  • ลดทานอาหารหวาน ต้นเหตุหนึ่งของฟันผุ หรือควรดื่มน้ำตามทุกครั้งหลังรับประทานของหวาน
  • พบทันตแพทย์ เพื่อเช็คสุขภาพช่องปากทุก ๆ 6 เดือน

อุดฟันด้วยสิทธิประกันสังคม

อุดฟันชั่วคราว

คลินิก Vertex Dental ได้การทำข้อตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ให้คนไข้สามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการทำฟัน โดยที่ไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชนเพื่อในการเช็คสิทธิก่อนรักษา

สิทธิประกันสังคม 900 บาท / ปี สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดค่าอุดฟันได้ โดยคนไข้จะจ่ายส่วนค่ารักษาที่เกิน 900 บาทเท่านั้น

Scroll to Top