5 ประเภท ของการ ผ่าตัดขากรรไกร ใครเหมาะกับการผ่าตัดแบบไหน ?

ผ่าตัดขากรรไกร ขากรรไกร ผ่าขากรรไกร ฟันไม่สบกัน

ขากรรไกร ที่ผิดปกติสามารถทำให้เกิดปัญหาได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น รูปหน้าที่เบี้ยวทำให้ขาดความมั่นใน การเคี้ยวอาหารหรือหายใจลำบาก หากขากรรไกรผิดปกติอย่างรุนแรง สามารถส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเกิดปัญหาเรื้อรังในช่องปากได้ การผ่าขากรรไกร จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้

การผ่าขากรรไกร แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ตามลักษณะความผิดปกติของแต่ละจุด

ขากรรไกร ผ่าขากรรไกร ฟันไม่สบกัน ผ่าตัดขากรรไกร

1. การผ่าตัดขากรรไกรบน (Maxillary Osteotomy) 

คือการผ่าตัดสำหรับผู้ที่มีปัญหา ขากรรไกรบนยื่น หรือหดแบบเห็นได้ชัด ฟันไม่สบกัน ฟันล่างยื่นออกมาด้านหน้า หรือแม้แต่ผู้ที่มีปัญหากระดูกบริเวณกึ่งกลางหน้าเจริญผิดรูป

2. การผ่าตัดขากรรไกรล่าง (Mandibular Osteotomy)

คือการผ่าตัดบริเวณขากรรไกรล่าง สำหรับผู้ที่มีปัญหา ขากรรไกรล่างยื่น หรือหดมากผิดปกติ รวมไปผู้ที่มีปัญหานอนกรนอีกด้วย เนื่องจากการผ่าตัดประเภทนี้ ทำให้คนไข้มีที่วางลิ้นและหายใจสะดวกขึ้น

3. การผ่าตัดขากรรไกรบนและล่าง (Bimaxillary Osteotomy)

คือการผ่าตัดสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติ ทั้งขากรรไกรบนและล่างอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีรูปร่างไม่สมส่วนจากด้านข้าง หรือทั้งบนและล่าง

4. การเสริมคาง (Genioplasty)

คือการผ่าตัดขากรรไกร เพื่อแก้ปัญหาคางสั้น คางถอย ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะมีอาการปากอูม ฟันยื่นร่วมด้วย

5. การผ่าตัดขากรรไกร แก้ปัญหาภาวะผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMJ Surgery)

เป็นการผ่าตัดเพื่อการรักษาความผิดปกติของระบบบดเคี้ยว คนไข้มักมีอาการปวด กดแล้วเจ็บ การเคลื่อนที่ของขากรรไกรผิดปกติ เช่น เคลื่อนที่ได้น้อยลงหรือเบนผิดรูป หรือบางครั้งอาจเกิดเสียงบริเวณข้อต่อร่วมด้วย

ผ่าขากรรไกร ขากรรไกร ฟันไม่สบกัน ผ่าตัดขากรรไกร

นอกจากเรื่องของประเภทการผ่าตัดขากรรไกรที่คนไข้ทุกคนจำเป็นต้องรู้แล้ว เทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัดก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเทคนิคที่โดดเด่นมากขึ้นในปัจจุบันคือ การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน (Surgery-First Approach)

Surgery-First คืออะไร

การผ่าตัดขากรรไกรร่วมจัดฟันแบบ Surgery-First คือ การผ่าตัดขากรรไกรก่อนการจัดฟัน เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากการผ่าตัดแบบดั้งเดิม (Conventional Approach) นั้น จะใช้วิธีการจัดฟันให้เรียงตัวเหมาะสมประมาณหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลายาวนานถึง 1-2 ปี ก่อนที่จะเริ่มการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ในช่วงนี้ ผู้ป่วยอาจจะเกิดปัญหาฟันแทรกซ้อน เช่น ปัญหาเหงือกร่น ฟันผุ รากฟันละลาย และที่สำคัญที่สุดคือใบหน้าที่ไม่เข้ารูปในตลอดระยะเวลาการจัดฟัน รวมไปถึงปัญหาการสบฟันและการเคี้ยวไม่ได้รับการแก้ไข ผู้ป่วยส่วนมากจึงรู้สึกลำบากมากขึ้น และเมื่อผ่าขากรรไกรแล้ว ผู้ป่วยต้องเข้ารับการจัดฟันอีกครั้ง ในขณะที่วิธีผ่าตัดแบบ Surgery-First สามารถย่นเวลาการรักษาได้มาก ไม่ต้องจัดฟันก่อน แต่ข้ามไปขั้นตอนการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรเลย หรือจัดแค่เล็กน้อย ทำให้ผู้ป่วยมีขากรรไกรเข้ารูปตามความต้องการ ใบหน้าที่สมส่วนตั้งแต่การผ่าตัดครั้งแรก และจัดการกับปัญหาฟันไม่สบกันหลังจากขากรรไกรเข้ารูปแล้ว

แต่เนื่องจากการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟันต้องอาศัยความแม่นยำ และความเชี่ยวชาญสูง การนำระบบคอมพิวเตอร์เพื่อมาช่วยให้การผ่าตัดราบรื่นจึงเป็นเรื่องจำเป็น

อ่านบทความเรื่อง Surgery-First เพิ่มเติม

ระบบคอมพิวเตอร์ 3D นำร่องการผ่าตัดสำคัญในการผ่าตัดขากรรไกรอย่างไร

การใช้คอมพิวเตอร์ 3D เข้ามาช่วยในการผ่าขากรรไกรเป็นเหมือนส่วนเสริมความแม่นยำเป็นอย่างมากให้กับการผ่าตัด ทำให้การสื่อสารระหว่างแพทย์และคนไข้ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะสามารถจำลองผลลัพธ์ให้คนไข้เห็นก่อนผ่าตัดได้ แพทย์สามารถเห็นเส้นเลือด เส้นประสาท และอวัยวะสำคัญต่างๆ ทำให้ลดโอกาสการผ่าตัดผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนไข้บวมช้ำน้อยกว่า และฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดขากรรไกรแบบปกติด้วย

อ่านเกี่ยวกับเทคนิคคอมพิวเตอร์ 3D  Nemotec V

หากใครที่มีปัญหาข้างต้น ขากรรไกรยื่น ฟันไม่สบกัน ฟันอูม คางสั้น ฯลฯ
อย่ารอช้าที่จะปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำผ่าขากรรไกรในการแก้ปัญหาและการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านบทความเกี่ยวกับการผ่าตัดขากรรไกรเพิ่มเติม

แก้คางยื่น ขากรรไกรยื่น ฟันไม่สบกัน ผ่าตัดขากรรไกร

คนคางยื่นมีเฮ! ผ่าตัดขากรรไกรแก้ไขได้ ไม่จ้อจี้!

หลายๆคนอาจจะเข้าใจว่าปัญหานี้ แก้ได้ด้วยการจัดฟัน แต่ต้องบอกว่าไม่ใช่เสมอไป ซึ่งปัญหานี้นั้น เป็นปัญหาที่เกิดจากโครงหน้าหรือขากรรไกรยื่น วิธีแก้ได้ถาวร จะต้องทำการผ่าตัดขากรรไกรเท่านั้น เพื่อแก้ที่ต้นเหตุได้อย่างตรงจุด

ผ่าขากรรไกร แก้ขากรรไกรยื่น ไม่ใช่ตัดกราม เหลากราม

รู้จริงหรือมั่ว!? ผ่าขากรรไกร ไม่ใช่ตัดกราม

การผ่าขากรรไกรและตัดกราม มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งบริเวณของกรามและขากรรไกร ปัญหาที่ส่งผล รวมถึงวิธีการผ่าตัด 

Scroll to Top