รากฟันเทียมคืออะไร
การทำรากฟันเทียม หรือ ทันตกรรมรากเทียม (dental implant) คือ การแก้ปัญหาการสูญเสียฟันแท้ที่หลุดไปด้วยการผ่าตัดฝังโครงรากฟันเทียม เพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่สูญเสียฟัน จากนั้นทันตแพทย์อาจจะทำฟันปลอม หรือครอบฟันมายึดติดกับราก ทดแทนฟันที่หลุดไป เพื่อให้ฟันบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันจริง ช่วยทำให้ฟันเทียมติดแน่น รากเทียมจะทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติเพื่อรองรับ ทันตกรรมฟันปลอม,ครอบฟัน หรือ สะพานฟัน ที่ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
รากฟันเทียม เป็น ฟันปลอม ที่ดีที่สุดคล้ายฟันธรรมชาติ ยึดติดแน่น ไม่ต้องถอดออก มีการตอบรับที่ดีกับ เนื้อเยื่อ เมื่อเวลาผ่านไปรากเทียมจะยึดติดกับส่วนเดียวกับกระดูก ปัจจุบันการใส่รากเทียม ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด วิธีหนึ่งเลยทีเดียว
ข้อดี ของการ ทำรากฟันเทียม
- เพิ่มความมั่นใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- ฟันเทียมที่ดูเป็นธรรมชาติ และใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
- ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
- สามารถบดเคี้ยวได้ดี
- ไม่มีปัญหากับการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่นๆ
- ช่วยการใส่ฟันเทียมแบบถอดได้ความรู้สึกสบาย มีความแน่นกระชับมากยิ่งขึ้น
- ป้องกันการสูญเสียฟัน และกระดูกข้างเคียง
- ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติมากที่สุด
- เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก
- คงทนและถาวร
- เมื่อร่วมกับฟันเทียมแบบถอดได้ จะหมดปัญหาฟันเทียมขยับระหว่างพูดคุย หรือรับประทานอาหาร
ส่วนประกอบของ รากฟันเทียม
ทำรากฟันเทียมประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วน ดังนี้
- Screw : ส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือก
มีลักษณะเป็นสกรูทำจากไทเทเนียมนี้ ทำหน้าที่เป็นรากฟัน ยึดตัวฟันเทียมให้มั่นคงเเข็งแรงด้วยการฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร - Abutment : ส่วนที่อยู่ระหว่างรากฟันเทียม (Screw) และครอบฟัน (Crown)
ทำหน้าที่ทดแทนโครงสร้างของแกนฟัน เพื่อรองรับตัวครอบฟัน มักยึดติดส่วนนี้ไว้ด้วย Screw - Crown : ส่วนของตัวฟัน
ทำมาจากเซรามิก ลอกเลียนสีและรูปร่างของฟันธรรมชาติเป็นส่วนที่ใช้บดเคี้ยวอาหารโดยตรง
ผู้ที่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม และผู้ที่ไม่ควรทำรากฟันเทียม
ผู้ที่มีการสูญเสียฟันแท้ไป สามารถรับการรักษาด้วยรากฟันเทียมได้ทุกคน โดยไม่กำหนดช่วงอายุ แต่ไม่ควรทำในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้า และขากรรไกร ผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือสูบบุหรี่จัดจะมีผลต่อความสำเร็จในการรักษา ส่วนผู้ป่วยจิตเภท ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้ ไม่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม
การเตรียมตัวเข้ารับการทำรากฟันเทียม
ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียม จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจและประเมินโดยละเอียดจาก ทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เพราะอาจแก้ไขได้ยากมาก อีกทั้งทันตแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ และความชำนาญ สามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ มีความเข้าใจเรื่องการบดเคี้ยว และขั้นตอนทางทันตกรรมประดิษฐ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาอยู่ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ และที่สำคัญผู้ป่วยควรดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดีก่อนเข้ารับการรักษา
อายุการใช้งาน และการดูแลรักษารากฟันเทียม
รากฟันเทียม ทำมาจากไททาเนียมซึ่งมีความคงทนมาก อายุการใช้งานจะอยู่ที่การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย รากเทียมไม่ผุแต่เกิดโรคเหงือกอักเสบได้หากดูแลได้ไม่ดี การดูแลรักษาก็เหมือนการดูแลรักษาฟันธรรมชาติ คือ การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ หากทำทุกอย่างได้ดีรากเทียมก็จะอยู่ได้ไปตลอด
รากฟันเทียมคืออะไร ควรเลือกแบบไหนที่เหมาะกับตัวเรา?
สะพานฟัน
การทำสะพานฟันเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องใส่ฟันปลอมมากกว่าหนึ่งซี่ขึ้นไป หรือต้องถอนฟันออกหลายๆ ซี่ติดกัน ลำพังสะพานฟันเองนั้นอาจจะไม่สะดวกสักเท่าไหร่ในการใส่และใช้งาน และอาจจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ด้านในของฟันปลอม ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลความสะอาดที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดสุขภาพปัญหาในช่องปากตามมาก็เป็นได้ แต่สำหรับการทำสะพานร่วมกับการฝังรากฟันเทียมแล้ว ปัญหานี้ก็จะหมดไป เพราะสะพานฟันจะแน่นหนาและใช้งานได้ดีไม่ต่างจากฟันธรรมชาติของคุณเลย
All-on-4
สำหรับคนที่ต้องถอนฟันทั้งหมดออก ไม่ว่าจะจากเหตุธรรมชาติ เช่น ในผู้สูงวัย หรือด้วยสาตุอื่นๆ ก็ตาม การใส่รากฟันเทียมแบบ All-on-4 จะช่วยคืนรอยยิ้ม ความมั่นใจ ความสะดวกในการพูดคุยและรับประทานอาหารให้คุณอีกครั้ง ข้อดีคือวิธีนี้จะใช้รากฟันเทียมเพียง 4 ตัวเพื่อยึดฟันทั้งแผงไว้ ใช้เวลาทำและพักฟื้นเพียงไม่นาน สวยงามและเหมือนฟันแท้ๆ ของคุณ
การทำรากฟันเทียมนั้น สามารถทำให้คุณกลับมายิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง และในรายของผู้สูงอายุก็สามารถทำให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนเดิมอีกด้วย แต่รากฟันเทียมแต่ละแบบ ก็มีจุดเด่นและความเหมาะสมแตกต่างกันไป คุณควรจะปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุด