ขากรรไกรยื่น ฟันไม่สบกัน แก้ไขด้วยวิธีไหน?

ขากรรไกรยื่น

3 วิธี แก้ไขปัญหา ขากรรไกรยื่น ฟันไม่สบกัน

ปัญหา ขากรรไกรยื่น ฟันไม่สบกัน ไม่ต้องกังวล แก้ไขได้ด้วยวิธีดังนี้

ขากรรไกรยื่น คางยื่น

1. การจัดฟัน แก้ขากรรไกรยื่น

การจัดฟัน สามารถช่วยแก้ไขปัญหาขากรรไกรยื่น หรือฟันไม่สบกันได้ แต่จะเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ต้องให้คุณหมอทำการประเมินก่อน

เพราะจริงๆแล้วการจัดฟันไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะในบางเคสมีปัญหาที่หนักเกินกว่าจะจัดฟันได้ เช่น คางยื่นมากเกินไป

แต่ถ้าหากคนไข้ยังเลือกที่จะจัดฟันเพื่อแก้ไขปัญหา คุณหมอจัดฟันจะทำการถอนฟันล่าง เพื่อดึงฟันหน้าล่างเข้ามา ทำให้ฟันงู้มเข้า ให้ฟันสบกันปกติ แต่ผลลัพธ์โดยรวมที่ได้คือช่วงคาง หรือขากรรไกรยื่นอยู่ ซึ่งไม่เป็นที่น่าพอใจ รวมไปถึงเคสที่เหงือกเยอะ ปากอูม ฟันไม่สบกัน หรือว่าโครงหน้าเบี้ยวผิดรูป *กรณีแบบนี้การจัดฟันเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ได้*

ขากรรไกรยื่น myobrace

2. Myobrace แก้ขากรรไกรยื่น

MYOBRACE (มายโอเบรส) คือ เครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหาความผิดปกติของฟันและโครงหน้ามานานกว่า 20 ปี และเป็นที่แพร่หลายใน 100 ประเทศทั่วโลก โดยเครื่องมือนี้ช่วยในการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การวางลิ้นในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม การกลืน และการหายใจที่ไม่ถูกต้องให้กลับมาเป็นปกติและมีการพัฒนาของขากรรไกรที่สมบูรณ์

Myobrace ขากรรไกรยื่น

Myobrace สำหรับเด็ก

3 ใน 4 ของเด็กส่วนใหญ่ จะพบกับปัญหาที่เหมือนกัน คือ มีฟันเกและการพัฒนาของขากรรไกรที่ไม่ถูกต้อง เช่น ขากรรไกรยื่น ปัญหาเหล่านี้ เห็นได้ชัดตั้งแต่อายุ 4 ขวบ  และจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในวัยเด็กที่ยังคงมีการเจริญเติบโตอยู่ งานวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า การหายใจทางปาก การกลืนที่ไม่ถูกต้อง การวางลิ้นผิดตำแหน่ง และการดูดนิ้วหัวแม่มือ เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้การพัฒนาของขากรรไกรไม่สมบูรณ์และมีปัญหาในเรื่องของฟันไม่สบกัน

การใส่ Myobrace อย่างต่อเนื่องร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับฟันอย่างมาก ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะแนะนำการรักษาโดยให้เด็กมีอายุ 12 ปีก่อนแล้วค่อยรักษาโดยวิธีการจัดฟัน 

ขากรรไกรยื่น มายโอเบรส

Myobrace สำหรับผู้ใหญ่

อาจไม่ได้ช่วยเรื่องการปรับโครงหน้าและฟันมากเหมือนในเด็ก เนื่องจากหมดการเจริญเติบโตแล้ว แต่จุดประสงค์หลัก คือ การช่วยแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ได้ เช่น ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ การนอนกรน

ผ่าตัดแก้ขากรรไกรยื่น

3. การผ่าตัดขากรรไกร แก้ขากรรไกรยื่น

การผ่าตัดขากรรไกร เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุดและตรงจุด เพราะว่าคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องขากรรไกร ไม่ว่าจะคางยื่น เหงือกเยอะ ปากอูม หรือว่าฟันไม่สบกัน ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ และการผ่าตัดขากรรไกรจะต้องทำควบคู่กับการจัดฟัน การรักษาด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เพราะในช่วงอายุนี้ ขากรรไกรจะหยุดการเจริญเติบโตแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ เนื่องจากว่าการผ่าตัดขากรรไกรเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างใหญ่ และในบางสถานที่ไม่ว่าจะเป็นคลินิก หรือโรงพยาบาล ขั้นตอนในการรักษาจะต่างกัน

การผ่าตัดขากรรไกร แก้ขากรรไกรยื่นจะมี 2 วิธี คือ

1.แบบจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร หรือ แบบดั้งเดิม (Conventional approach) (จัดฟัน->ผ่าตัด->จัดฟัน) โดยแต่ดั้งเดิมมานั้น ส่วนใหญ่จะรักษาโดยการจัดฟันก่อน โดยจัดฟันปรับแก้ไขความผิดปกติของฟันก่อน จะใช้ระยะเวลามากน้อยขึ้นอยู่กับความยากง่าย ความซับซ้อนของแต่ละคน ซึ่งวิธีการรักษาในลักษณะนี้ ช่วงระยะเวลาที่จัดฟัน อาจทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกว่าใบหน้ามีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น รู้สึกว่าฟันล่าง หรือ ฟันบนยื่น ปากอูม หรือดูผิดรูปมากขึ้น เพราะต้องมีการจัดฟันให้ฟันมีการทำมุมเอียงตัวที่ถูกต้องก่อนการผ่าตัด โดยช่วงนี้มักใช้ระยะเวลาประมาณ 1 – 2 ปี ถึงจะเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่มีความผิดปกติ และจัดฟันหลังจาก ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร เพื่อปรับการเรียงตัว และการสบฟันอีกระยะหนึ่งประมาณ 1 – 2 ปี เพื่อให้การสบฟันนั้นเหมาะสมและคงที่ จึงถอดเครื่องมือจัดฟันได้ รวมระยะเวลารักษาทั้งหมอประมาณ 3 – 5 ปี

2.แบบผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน (Surgery-first approach) ปัจจุบันนั้นเริ่มมีการนำวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดก่อนแล้วจึงจัดฟัน มารักษาผู้ป่วยมากขึ้น เนื่องจากวิธีดั้งเดิม มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาการรักษาที่ค่อนข้างนาน และในบางระยะของการรักษาผู้ป่วย (ก่อนผ่าตัด) จะมีการสบฟัน และใบหน้าที่ดูผิดปกติมากขึ้น ซึ่งถ้าเทียบกับการผ่าตัดก่อน ผู้ป่วยจะมีใบหน้าที่ดูดีขึ้นหลังการผ่าตัดทันที

Scroll to Top